วันอังคารที่ ๒๔ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๐

อะนะค่ะ

หวัดดีเพื่อนๆ

เง่อส์ วันนี้จะเอาเรื่องอารายมาบอกเพื่อนๆดีละเอางี้ละกัน



Les mots à ne pas confondre !
คำสับสนในภาษาฝรั่งเศส
บ่อยครั้งเมื่อเราพบคำศัพท์ เราจำสับสนเพราะเขียนคล้ายกันมาก เช่น sale [สกปรก] กับ salle [ห้อง] ทำให้ตีความผิดๆ หรือคำเดียวกันแ่ต่ต่างเพศ ความหมายก็แตกต่างกัน เช่น un livre [หนังสือ] กับ une livre [นํ้าหนักหนึ่งปอนด์] หรือบางครั้งก็พ้องเสียง (homonyme) เช่น voie [ช่องทาง] voix [เสียง] voir [เห็น] voire [ซํ้ายัง ... เสียอีก] ทำให้เราเขียนผิดหรือแปลความหมายผิด ในส่วนของความหมายเองก็ทำให้เราสับสนในการเลือกใช้คำ เช่น accident และ incident ที่มีความหมายใกล้เคียงกันมาก คำศัพท์เหล่านี้์ ไม่ว่าจะพ้องรูป พ้องเสียง หรือพ้องความหมาย จึงน่าสนใจที่จะศึกษาเพื่อการตีความที่ถูกต้อง และนำไปใช้ได้อย่างถูกต้องและมั่นใจ



วันอาทิตย์ที่ ๘ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๐

เฮ้อออออออออออออออออออ

วันนี้รู้สึกว่า จะมีแต่เรื่องที่อยากจะทำให้เราร้องไห้
เพื่อนๆ เคยรู้สึกแบบนี้ไหม ความรู้สึกที่เราไม่มีใคร
เป็นความรู้สึกที่ย่ำแย่มากเลย ฉันเชื่อได้ว่าทุกคนก็เคยมีความรู้สึกแบบนี้
ความรู้สึกเหงาอ้างว้างเศร้า ปนๆกันไป(แต่เป็นความรู้สึกที่ไม่ได้เรียกว่าอยากมีแฟนนะ)
เป็นความรู้สึกที่บางเวลาที่เรา เศร้า เราก็แค่อยากจะมีคนๆนึงคอยให้กำลังใจเรา "แต่มันไม่"
แต่ก็ช่างมันเถอะ ฉันจะพยามทำใจให้ได้

ภาษาฝรั่งเศส

ยุคเริ่มแรก
ภาษาฝรั่งเศสเป็นภาษาในกลุ่มภาษาโรมานซ์ หมายความว่าเป็นภาษาที่มีต้นกำเนิดจากภาษาละตินที่พูดกันในจักรวรรดิโรมันโบราณ ก่อนหน้าที่ดินแดนที่เป็นที่ตั่งประเทศฝรั่งเศสในปัจจุบันจะอยู่ใต้การปกครองของโรมัน ดินแดนดังกล่าวเคยอยู่ใต้การปกครองของพวกกอล ซึ่งเป็นหนึ่งในชนชาติเซลต์ ในสมัยนั้นดิินแดนประเทศฝรั่งเศสมีคนที่พูดภาษาถิ่นต่าง ๆ กันหลายภาษา แม้ว่าชาวฝรั่งเศสจะชอบสืบที่มาของภาษาของตนไปถึงพวกกอล (les Gaulois) แต่มีคำในภาษาฝรั่งเศสเพียง 2,000 คำเท่านั้นที่มีที่มามาจากภาษาของพวกกอล ซึ่งโดยมากจะเป็นคำที่ใช้เป็นชื่อสถานที่ หรือเป็นคำที่มีความหมายเกี่ยวกับธรรมชาติ

หลังจากดินแดนของพวกกอลถูกชาวโรมันยึดครอง คนที่อาศัยอยู่ในบริเวณนั้นก็หันมาพูดภาษาละติน ซึ่งภาษาละตินที่พูดกันในบริเวณนี้ ไม่ใช่ภาษาละตินชั้นสูงแบบที่พูดกันในหมู่ชนชั้นสูงของกรุงโรม แต่เป็นภาษาละตินของชาวบ้าน (vulgar latin) ที่พูดกันในหมู่พลทหาร นอกจากนี้ ภาษาละตินที่พูดกันอยู่ในฝรั่งเศสนั้น ก็ได้รับอิทธิพลจากภาษากอลอยู่พอควร เนื่องจากสิ่งของบางอย่างที่ใช้กันอยู่ในกอล พวกโรมันไม่มีชื่อเรียก จึงต้องขอยืมคำในภาษากอลมาเรียกสิ่งของเหล่านั้น เช่น les braies ซึ่งแปลว่าเครื่องแต่งกายจำพวกกางเกงของชาวกอล


ยุคอาณาจักรแฟรงก์
หลังจากคริสต์ศตวรรษที่ 3 เป็นต้นมา จักรวรรดิโรมันก็เสื่อมอำนาจ ดินแดนหลายส่วนของจักรวรรดิโรมันตกอยู่ในเงื้อมมือของชนเผ่าป่าเถื่อนหลายพวก ชนเผ่าป่าเถื่อนที่ตั้งถิ่นฐานอยู่ในดินแดนที่เป็นประเทศฝรั่งเศสปัจจุบัน ได้แก่ ชนเผ่าแฟรงก์ที่อาศัยอยู่ทางเหนือ ชนเผ่าวิซิกอทที่อาศัยอยู่ทางใต้ ชนเผ่าเบอร์กันดีในบริเวณริมแม่น้ำโรน และชนเผ่าเอลแมนที่อาศัยอยู่บริเวณพรมแดนของประเทศฝรั่งเศสและเยอรมนี ชนเผ่าป่าเถื่อนเหล่านี้พูดภาษาในกลุ่มภาษาเยอรมนิก สำเนียงของชนเหล่านี้ได้ส่งผลต่อภาษาละตินที่เคยพูดอยู่เดิมในฝรั่งเศส และคำจากภาษาของชนป่าเถื่อน ได้แก่ คำที่มีความหมายเกี่ยวกับยุทธวิธีในการรบ และชนชั้นทางสังคม ได้ถูกนำมาใช้ในภาษาละตินที่พูดกันอยู่ในฝรั่งเศส โดยภาษาฝรั่งเศสปัจจุบันมีคำที่มีที่มาจากคำในภาษาของชนป่าเถื่อนอยู่ราว ๆ ร้อยละ 15

ภาษาฝรั่งเศสในยุคกลาง
นักภาษาศาสตร์ได้แบ่งกลุ่มภาษาฝรั่งเศสที่พูดกันในยุคกลางออกเป็น 3 กลุ่ม กลุ่มแรกคือภาษาที่เรียกกันว่า Langue d'Oïl พูดกันอยู่ทางตอนเหนือของประเทศ กลุ่มที่สองคือ Langue d'Oc ที่พูดกันอยู่ทางใต้ของประเทศ และกลุ่มที่สามคือ Franco-Provençal ซึ่งเป็นการผสมผสานกันของสองภาษาแรก

Langue d'Oïl เป็นภาษาที่ใช้คำว่า oïl ในคำพูดว่า "ใช่" (ปัจจุบันใช้คำว่า oui) ในสมัยกลางภาษานี้จะพูดกันในตอนเหนือของประเทศฝรั่งเศส ซึ่งภาษานี้ได้พัฒนามาเป็นภาษาฝรั่งเศสในปัจจุบัน

Langue d'Oc เป็นภาษาที่ใช้่คำว่า oc ในคำพูดว่า "ใช่" ภาษานี้พูดกันอยู่ทางตอนใต้ของฝรั่งเศสและทางเหนือของสเปน ซึ่งภาษานี้จะมีลักษณะคล้ายกับภาษาละตินมากกว่า Langue d'Oïl


ภาษาฝรั่งเศสยุคใหม่
นักวิชาการเรียกภาษาฝรั่งเศสที่พูดในช่วงก่อนหน้าปี พ.ศ. 1843 ซึ่งก็คือภาษา Langue d'Oïl ว่าเป็นภาษาฝรั่งเศสโบราณ เอกสารฉบับแรกที่เขียนขึ้นเป็นภาษาฝรั่งเศสโบราณ คือ "คำปฏิญาณแห่งทรัสบูร์ก" (Strausbourg) ซึ่งเขียนขึ้นในปี พ.ศ. 1385

ในปี พ.ศ. 2082 พระเจ้าฟรองซัวที่ 1 ได้ออกพระราชกฎษฎีกาที่กำหนดให้ภาษาฝรั่งเศสเป็นภาษาทางการของฝรั่งเศสแทนที่ภาษาละติน และกำหนดให้ใช้ภาษาฝรั่งเศสในการบริหารราชการ ในราชสำนัก และในการพิจารณาคดีในศาล ในช่วงนี้ได้มีการปรับปรุงตัวสะกดและการออกเสียงในภาษาฝรั่งเศส นักวิชาการเรียกภาษาฝรั่งเศสในยุคนี้ว่า ภาษาฝรั่งเศสยุคกลาง ในศตวรรษที่ 17 หลังจากที่มีการกำหนดมาตรฐานภาษาฝรั่งเศสให้พูดสำเนียงเดียวกันทั่วประเทศ การปรับปรุงและการกำหนดหลักต่างๆ ของภาษา ก็ทำให้เกิดภาษาฝรั่งเศสที่เรียกกันว่าภาษาฝรั่งเศสยุคใหม่ ซึ่งพูดกันอยู่ในปัจจุบัน

ในปี พ.ศ. 2177 พระคาร์ดินัลรีเชอลีเยอได้ก่อตั้งองค์การที่เรียกว่า L'Académie Française (อากาเดมี ฟรองแซส) เพื่อทำหน้าที่ดูแลรักษาภาษาฝรั่งเศสไว้ไม่ให้วิบัติ และคงภาษาฝรั่งเศสให้อยู่ในรูปแบบเดิมให้มากที่สุด หน้าที่สำคัญหน้าที่หนึ่งขององค์กรนี้ คือ การออกพจนานุกรม

ในช่วงศตวรรษที่ 17-19 ฝรั่งเศสได้มีบทบาทสำคัญในการเมืองของทวีปยุโรป และเป็นศูนย์กลางของปรัชญารู้แจ้งที่แพร่หลายกันอยู่ในสมัยนั้น ทำให้อิทธิพลของภาษาฝรั่งเศสแผ่ออกไปกว้างขวางและกลายเป็นภาษากลางของยุโรป มีบทบาทสำคัฐทางการทูต วรรณคดี และศิลปะ มหาราชในยุคนั้นสองพระองค์ คือ พระนางแคทเธอรีนมหาราชินีแห่งรัสเซีย และพระเจ้าเฟรดริกมหาราชแห่งปรัสเซีย สามารถตรัสและทรงพระอักษรเป็นภาษาฝรั่งเศสได้ดี


เครดิต wikipedia

Le français

Le français est une langue romane parlée en France, dont elle est originaire (la « langue d'oïl »), ainsi qu'en Afrique francophone, au Canada (principalement au Québec, au Nouveau-Brunswick et en Ontario), en Belgique, en Suisse, au Liban, en Haïti et dans d'autres régions du monde, soit au total dans 51 pays du monde ayant pour la plupart fait partie des anciens empires coloniaux français et belge.

La langue française est un attribut de souveraineté en France : c'est la langue de la République française (article 2 de la Constitution de 1958). Elle est également le principal véhicule de la pensée et de la culture française dans le monde.

Elle est une des deux seulescitation nécessaire langues internationales à être présentes et enseignées sur les cinq continents, une des six langues officielles et une des deux langues de travail (avec l'anglais) de l'Organisation des Nations unies, et langue officielle ou de travail de plusieurs organisations internationales ou régionales, dont l'Union européenne. Après avoir été la langue de l'Ancien Régime, des tsars de Russie en passant par les princes de l'Allemagne, jusqu'au rois d'Espagne, elle demeure une importante langue de la diplomatie internationale aux côtés de l'anglais.

La langue française a cette particularité que son développement et sa codification ont été en partie l'œuvre de groupes intellectuels, comme la Pléiade, ou d'institutions, comme l'Académie française. C'est une langue dite « académique ». Toutefois, l'usage garde ses droits et nombreux sont ceux qui malaxèrent cette langue vivante, au premier rang desquels Molière : on parle d'ailleurs de la « langue de Molière ».

ภาษาฝรั่งเศส

ภาษาฝรั่งเศส (ฝรั่งเศส: français, อังกฤษ French) เป็นหนึ่งในภาษากลุ่มโรมานซ์ที่สำคัญที่สุด เป็นรองเพียงภาษาสเปนและโปรตุเกส ภาษาฝรั่งเศสเป็นภาษาที่มีคนพูดมากเป็นอันดับที่ 11 ของโลก โดยเมื่อปี พ.ศ. 2542 มีคนพูดภาษาฝรั่งเศสเป็นภาษาแรก (ฟรองโกโฟน) ประมาณ 77 ล้านคน และเมื่อรวมคนที่พูดเป็นภาษาที่สองแล้วจะมีประมาณ 128 ล้านคน

ภาษาฝรั่งเศสเป็นภาษาราชการ และภาษาที่ใช้ปกครองในชุมชนต่าง ๆ โดยเฉพาะประเทศที่เคยเป็นอาณานิคมของฝรั่งเศส รวมถึงองค์กรต่าง ๆ ด้วย (เช่น สหภาพยุโรป ไอโอซี องค์การสหประชาชาติ และ สหภาพสากลไปรษณีย์) ในสมัยก่อนภาษาฝรั่งเศสถือเป็นภาษาสากลที่แพร่หลายที่สุด โดยมีสถานะดังเช่นภาษาอังกฤษในปัจจุบัน หนังสือเดินทางของไทยก็เคยใช้ภาษาฝรั่งเศสควบคู่กับภาษาไทย